関西ビジネス:関西

ข้อมูลจังหวัดโอซากา
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา
            กันยายน 2557
ที่ตั้ง : อยู่ในเขตคันไซของภูมิภาคคิงกิ เกาะฮอนชู มีอาณาเขตติดต่อกับ จ.เฮียวโกะ จ.เกียวโต จ.นารา และ จ.วากายามา
พื้นที่ : 1,901 ตร.กม. (อันดับ 46 ของญี่ปุ่น; มีเมืองหลวง คือนครโอซากา) (ข้อมูลปี 2556)
ประชากร : 8,864,189 คน (อันดับ 2 หรือประมาณ 6.98 % ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2556)
GDP : 36.38 ล้านล้านเยน (อันดับ 2 ของญี่ปุ่น; มากกว่าฮ่องกงและประเทศไทย) (ข้อมูลปี 2553)
GDP per Capita : 2,821,000 เยน (อันดับ 11 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2553)
ผู้บริหารท้องถิ่น -    นาย Ichiro Matsui ผู้ว่าราชการจังหวัดโอซากา (สมัยแรก; 2554), เลขาธิการพรรค Osaka Restoration Association (ORA) และเลขาธิการพรรค Japan Restoration Association (JRA) 
-    นาย Toru Hashimoto นายกเทศมนตรีนครโอซากา (สมัยที่สอง; 2554, 2557), ประธานพรรค ORA และผู้นำร่วมแห่งพรรค JRA, อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดโอซากา (2551)
โครงสร้างอุตสาหกรรม (2553) ภาคการผลิต (55%; ตัวอย่างอุตสาหกรรม เช่น เครื่องจักรกล/อิเล็กทรอนิกส์ 28%, กระดาษ 6%, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 4%, โลหะ 3% เคมีภัณฑ์ 2% เป็นต้น) การค้าขาย (24%) ภาคบริการ (18%) ก่อสร้าง (3%) 
จุดแข็งด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ ศูนย์กลางเศรษฐกิจเขตคันไซ (ภาคตะวันตกของญี่ปุ่น) จังหวัดโอซากามีขนาด GDP เท่ากับประเทศสวีเดน และมากกว่าประเทศไทย ทั้งยังมี SMEs จำนวนมากที่สุดในญี่ปุ่น โดยหลายแห่งได้รับการยอมรับว่าเป็นบริษัทชั้นนำของโลก ทั้งในด้านเทคโนโลยีที่มีความโดดเด่น และการใช้ทักษะแรงงานชั้นสูง จังหวัดยังมีหน่วยงานด้านการวิจัยระดับโลกอีกหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยโอซากา, National Cerebral and Cardiovascular Center, และ National Institute of Biomedical Innovation เป็นต้น ด้านการคมนาคมขนส่ง จ.โอซากายังเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติคันไซ ซึ่งมีการขยายเส้นทางการบินอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ท่าเรือโอซากาก็เป็นท่าเรือสำคัญในการขนส่งสินค้าเข้าและออกญี่ปุ่นเนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับการขนส่งทางบกได้หลายเส้นทาง และอยู่ใกล้กับสนามบินคันไซด้วย (ประมาณ 34 กม.)
ศูนย์กลางการผลิตและจำหน่ายเวชภัณฑ์ยา จ.โอซากา มีชื่อเสียงด้านการผลิตและจำหน่ายเวชภัณฑ์ยามานานกว่า 400 ปี โดยปัจจุบันการขนส่งเวชภัณฑ์ยาทางเรือของจังหวัดมีมูลค่า 7.76 แสนล้านเยน มากที่สุดในญี่ปุ่น ( 10.6% ของญี่ปุ่น) นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่มียอดจำหน่ายสูงสุดติดอันดับ 1 ใน 10 มากถึง 4 แห่งอีกด้วย 
การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ภาคอุตสาหกรรมเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาจังหวัด เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากมลภาวะและให้การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน จ. โอซากา จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย ดังเช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน การบำบัดน้ำเสียด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง และการนำขยะเหลือใช้ไปแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ในการสร้างพื้นที่ทางบกเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น   
ความได้เปรียบด้านการลงทุน เมื่อเปรียบเทียบกับกรุงโตเกียวแล้ว นครโอซากามีต้นทุนในการเช่าสำนักงานเฉลี่ยต่ำกว่าถึง 35 % และค่าแรงต่ำกว่าประมาณ 12 % นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่ให้ความดูแลและสนับสนุนการลงทุนหลายแห่ง เช่น องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) สมาพันธ์เศรษฐกิจเขตคันไซ (Kankeiren) ศูนย์ส่งเสริม  การทำธุรกิจระหว่างประเทศ (IBPC Osaka) และศูนย์การลงทุนและธุรกิจโอซากา (O-BIC) เป็นต้น 
อุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เหล็ก ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์โลหะ และการผลิตเครื่องกล
สินค้าสำคัญ Sharp, Panasonic, The Kansai Electric Power, Sumitomo Life Insurance, และ Takeda Pharmaceutical
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ปราสาทโอซากา, Universal Studios Japan, Osaka Aquarium KAIYUKAN 
ข้อมูลที่น่าสนใจ -    จำนวน SMEs 41,059 แห่ง มากเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่น (ประมาณ 9.3% ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2556)
-    จำนวนแรงงานภาคการผลิต 561,145 คน มากเป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่น (ประมาณ 6.4% ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2556)
-    สัดส่วนของ SMEs ที่ใช้การขนส่งทางเรือมากเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่น (ประมาณ 61.9%) (ข้อมูลปี 2554)
-    ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรระดับนานาชาติ 7,761 รายการ เป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่น (20.5% ของญี่ปุ่น)  (ข้อมูลปี 2554)
-    ได้รับเลือกเป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในเอเชีย (อันดับ 12 ของโลก) (ข้อมูลปี 2554)
-    มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนถึง 1 ใน 3 ของจำนวนที่เดินทางมาญี่ปุ่นทั้งหมด (ข้อมูลปี 2554)
ความสัมพันธ์กับไทย -    จำนวนคนไทยที่ลงทะเบียนทางการ 1,806 คน (มากที่สุดในเขตคันไซ) (มกราคม 2557)
-    งานเทศกาลไทยนครโอซากา ครั้งที่ 1 – 11 (ครั้งแรก ปี 2545)
-    มีความสัมพันธ์กับกรุงเทพในรูปแบบของ Business Partner Cities (BPC)
-    นาย Ichiro Matsui ผวจ. เยือนไทยระหว่างวันที่ 16-18 ก.ย. 2555 เพื่อส่งเสริมการลงทุนระหว่าง จ. โอซากาและไทย
-    นาย Toru Hashimoto อดีต ผวจ. เยือนไทยเมื่อปี 2552 เพื่อส่งเสริมการลงทุนระหว่าง จ. โอซากาและไทย

เวลาทำการ

(สำหรับคนไทย)
 

เวลายื่นเรื่องนิติกรณ์
และหนังสือเดินทาง

 
ช่วงเช้า
 

๐๙.๓๐ - ๑๑.๓๐ น.

 
ช่วงบ่าย
 

๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น.

 
タイ コロナウィルスに関して
pasport
บริการงานกงสุล タイ人諸手続き/認証
บัตรประจำตัวประชาชนไทย  身分証明書
งานคุ้มครองคนไทย タイ人保護
ลงทะเบียนคนไทย タイ人登録
แผนอพยพคนไทยในเขตคันไซ タイ人避難対策
แผนอพยพคนไทยในเขตคันไซ タイ人避難対策