関西ビジネス:関西

ข้อมูลจังหวัดเกียวโต
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา
           กันยายน 2557
ที่ตั้ง : อยู่ในเขตคันไซของภูมิภาคคิงกิ เกาะฮอนชู มีอาณาเขตติดต่อกับ จ.เฮียวโกะ จ.ฟุคุอิ จ.ชิกะ จ.มิเอะ จ.นารา และ 
          จ.โอซากา
พื้นที่ : 4,613 ตร.กม. (อันดับ 31; มีเมืองหลวง คือเมืองเกียวโต) (ข้อมูลปี 2554)
ประชากร : 2,630,000 คน (อันดับ 13 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2554)
GDP : 9.37 ล้านล้านเยน (อันดับ 13 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2553)
GDP per Capita : 2,726,000 เยน (มากอันดับ 18 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2553)
ผู้บริหารท้องถิ่น -    นาย Keiji Yamada ผู้ว่าราชการจังหวัดเกียวโต (อิสระ, ได้รับการสนับสนุนจาก DPJ , LDP , NKP และ SDP), 
สมัยที่ 4  (2545, 2549, 2553, 2557); ประธานสมาคมผู้ว่าราชการจังหวัดแห่งญี่ปุ่น วาระที่ 2 (2554, 2556)
-    นาย Daisaku Kadokawa นายกเทศมนตรีเมืองเกียวโต (อิสระ, ทุกพรรคสนับสนุน ยกเว้น JCP), สมัยที่ 2 (2551, 2555)
โครงสร้างอุตสาหกรรม (2556) ภาคบริการ (19.7%) ภาคการผลิต (18.4%) อสังหาริมทรัพย์ (17.1%) การค้าปลีก/ค้าส่ง (11.9%) การบริการภาครัฐ (9.4%) การคมนาคม (4.3%) การก่อสร้าง (4.3%) ด้านการเงินการประกันภัย (4.0%) อื่น ๆ (10.9%)
จุดแข็งด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ การผสมผสานวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ จังหวัดเกียวโตเคยเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นมานานกว่า 1,000 ปี ทำให้มีประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมมากมายที่พัฒนาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ความเป็นเกียวโต ควบคู่ไปกับการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ที่โดดเด่นอย่างสมดุล ดังที่มีบริษัทระดับโลกหลายแห่งมีต้นกำเนิดและตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่เกียวโต โดยในปัจจุบันเกียวโตมีนโยบายที่จะดึงดูดกลุ่มธุรกิจทางด้านเทคโนโลยี และ IT ให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดก็มีความโดดเด่นเช่นกัน โดยในปี 2555 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาในจังหวัดและพักค้างมากถึง 13.8 ล้านคน 
ศักยภาพของ SMEs จ.เกียวโต มีการรวมกลุ่ม SMEs อย่างเข้มแข็งและมีกิจกรรมทางธุรกิจร่วมกันหลายรูปแบบ ทั้งยังมีการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญ โดยในปัจจุบันมีบริษัทจากเกียวโตเข้าลงทุนในไทยแล้วทั้งหมด 28 แห่ง ที่สำคัญ SMEs ใน จ.เกียวโต ต่างผลิตชิ้นงานที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากแหล่งอื่น โดยเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยระหว่างปี 2550-2554 พบว่า จ.เกียวโตมีจำนวนบริษัทมากเป็นอันดับ 12 หากแต่ จ.เกียวโตสามารถเก็บภาษีเงินได้มากเป็นอันดับ 7 ของญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มของ SMEs ในจังหวัดได้อย่างดี
อุตสาหกรรมหลัก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการคมนาคม เครื่องมือตวงวัด อุตสาหกรรมสิ่งทอ และเคมีภัณฑ์ 
ผลิตภันฑ์ดั้งเดิม สินค้าหัตถกรรมท้องถิ่น ชุดกิโมโน เหล้าสาเก พัดเกียวโต (Cypress fan) ตุ๊กตาเกียวโต (Gyokubo Kannon Sama)
บริษัทญี่ปุ่นที่สำคัญในจังหวัด Nintendo, Intelligent Systems, TOSE, OMRON, Kyocera, Wacoal, Rohm, Horiba, Nidec, และ GS Yuasa.
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ แหล่งอุทยานประวัติศาสตร์แห่งเกียวโต ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยมีสถานที่สำคัญ เช่น วัดคินคะคุจิ (วัดทอง) วัดคิโยมิสึ (วัดน้ำใส) และปราสาทนิโจ (Nijo Castle) เป็นต้น
ข้อมูลที่น่าสนใจ -    มีกำลังคนภาคแรงงานจำนวน 1,219,000 คน มากเป็นอันดับ 13 ของญี่ปุ่น (2553)
-    มีการขนส่งสินค้าทางเรือมีมูลค่าอันดับ 1 หลายประเภท เช่น เครื่องวัดมลภาวะรวมมูลค่า 18.5 พันล้านเยน (67% ของญี่ปุ่น) และชุดกิโมโนสำเร็จรูปรวมมูลค่า 4.7 พันล้านเยน (29% ของญี่ปุ่น) เป็นต้น (2553)
-    มีสถานที่สำคัญที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของชาติเป็นอันดับ 2 (16.6%) ของญี่ปุ่น (2556)
-    เป็นสถานที่ตั้งของพระราชวังอิมพีเรียล เกียวโต ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นกับพระราชวงศ์ ก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่โตเกียว
-    เป็นอดีตเมืองหลวงของญี่ปุ่นยาวนานกว่า 1,200 ปี มีมรดกทางประวัติศาสตร์มากมายติดอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีสถานที่สำคัญที่ UNESCO กำหนดให้เป็นมรดกโลกถึง 17 แห่ง 
-    เป็นสถานที่เจรจาและบรรลุซึ่งพิธีสารเกียวโต ซึ่งเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการรับมือกับภาวะโลกร้อน ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)

เวลาทำการ

(สำหรับคนไทย)
 

เวลายื่นเรื่องนิติกรณ์
และหนังสือเดินทาง

 
ช่วงเช้า
 

๐๙.๓๐ - ๑๑.๓๐ น.

 
ช่วงบ่าย
 

๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น.

 
タイ コロナウィルスに関して
pasport
บริการงานกงสุล タイ人諸手続き/認証
บัตรประจำตัวประชาชนไทย  身分証明書
งานคุ้มครองคนไทย タイ人保護
ลงทะเบียนคนไทย タイ人登録
แผนอพยพคนไทยในเขตคันไซ タイ人避難対策
แผนอพยพคนไทยในเขตคันไซ タイ人避難対策