- หน้าหลัก
- ข้อมูล-กิจกรรมที่น่าสนใจ
- 関西ビジネス:三重
関西ビジネス:兵庫
ข้อมูลจังหวัดมิเอะ | |
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา กันยายน 2557 |
|
![]() |
ที่ตั้ง : อยู่ในเขตคันไซของภูมิภาคคิงกิ เกาะฮอนชู มีอาณาเขตติดต่อกับ จ. ไอจิ จ. กิฟุ จ. ชิกะ จ. เกียวโต จ. นารา และ จ. วากายามา พื้นที่ : 5761 ตร.กม. (อันดับ 24 ของญี่ปุ่น; มีเมืองหลวง คือเมืองทสึ (Tsu)) ประชากร : 1,829,063 คน (มากอันดับ 22 หรือประมาณ 1.44 % ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2556) GDP : 7.37 ล้านล้านเยน (มากอันดับ 19 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2553) GDP per Capita : 2,863,000 เยน (มากอันดับ 9 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2553) |
ผู้บริหารท้องถิ่น | - นาย Eikei Suzuki ผู้ว่าราชการจังหวัดมิเอะ สนับสนุนโดยพรรค LDP, NKP,และ Your Party (สมัยแรก, 2554) - นาย Yasuyuki Maeba นายกเทศมนตรีเมืองทสึ, สนับสนุนโดยพรรค DPJ (สมัยแรก, 2554) |
โครงสร้างอุตสาหกรรม (2554) | ภาคการผลิต (31.5%) ภาคบริการ (15.6%) อสังหาริมทรัพย์ (11.2%) ค้าปลีกค้าส่ง (9.7%) การบริการภาครัฐ (8.7%) การคมนาคม (5.7%) การก่อสร้าง (4.8%) การเงินและการประกันภัย (3.9%) อื่น ๆ (8.9%) |
จุดแข็งด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ | ศูนย์กลางอุตสาหกรรม จ. มิเอะ มีพื้นที่อยู่ริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองโอซากาและเมือง นาโกยาจึงมีนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานที่เป็นฐานการผลิตและขนส่งที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น. จ. มิเอะ ยังเป็นหนึ่งในแนวหน้าด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเทคโนโลยีการผลิตและวัสดุระดับสูง ทั้งยังให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ เช่น ยานยนต์ ผลึกเหลว (liquid crystal) และผลิตภัณฑ์อื่นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ Advanced Materials Innovation Center (AMIC) ขึ้นที่อำเภอยกไกจิ เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการผลิตโดยเฉพาะ SMEs และพัฒนาวัสดุชั้นสูง (Advanced Material) และเซลส์เชื้อเพลิง โดยมีความร่วมมือกับนักวิจัยจากประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศส Greater Nagoya Initiative (GNI) จ. มิเอะ เป็นส่วนหนึ่งใน GNI ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมการลงทุนขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นที่มีเมืองนาโกยาเป็นจุดศูนย์กลาง มีพื้นที่รวม 21,094 ตร.กม. มีเป้าหมายในการส่งเสริมอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ รวมถึงดึงดูดการลงทุน เทคโนโลยี และทรัพยากรบุคคลให้เข้ามาในพื้นที่ โดยในปี 2553 เขต GNI มี GDP เท่ากับ 4.91 แสนล้านดอลลาห์สหรัฐ ครองสัดส่วนร้อยละ 1 ของ GDP โลก และมากกว่าเบลเยี่ยม การส่งเสริมธุรกิจต่างชาติ จากนโยบายการขยายภาคอุตสาหกรรมในจังหวัด จึงมีมาตรการจูงใจให้มีการลงทุนในจังหวัด (Generous Subsidies) ซึ่งจะมีการอุดหนุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การอุดหนุนสำหรับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ 10 – 12% (ไม่เกิน 500 ล้านเยน) การอุดหนุนสำหรับบริษัทต่างชาติที่จะขยายการลงทุนสู่เอเชียใน จ.มิเอะ 20% (ไม่เกิน 500 ล้านเยน) เป็นต้น |
อุตสาหกรรมหลัก | อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล |
ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญ | ชาเขียว เนื้อวัว (Matsusaka) ไข่มุก (Mikimoto Pearl) และส้มพันธุ์นันคิ |
บริษัทญี่ปุ่นที่สำคัญในจังหวัด | HONDA, TOSHIBA, SHARP, JSR, AJINOMOTO, และ MITSUBISHI CHEMICAL |
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ | ปราสาท Iga Ueno, ศาลเจ้า Ise, เส้นทางแสวงบุญ Kumano Kodo, และแหล่งผลิตไข่มุก (Mikimoto) |
ข้อมูลที่น่าสนใจ | - มีกำลังคนภาคแรงงานจำนวน 895,000 คน มากเป็นอันดับ 22 ของญี่ปุ่น (2553) - มีมูลค่าสินค้าที่ขนส่งทางเรือ 9.4 พันล้านเยน มากเป็นอันดับ 9 ของญี่ปุ่น (2553) - เนื้อมัสซึซากะเป็นหนึ่งในสุดยอดเนื้อของญี่ปุ่นร่วมกับเนื้อโกเบ (จ.เฮียวโกะ) และเนื้อโอมิ (จ.ชิกะ) |
ความสัมพันธ์กับไทย | - จำนวนคนไทยที่ลงทะเบียนทางการ 993 คน เป็นอันดับ 2 ของเขตคันไซ รองจาก จ. โอซากา (มกราคม 2557) - เมื่อ พ.ย. 2556 มีการลงนาม MOU ความร่วมมือระหว่าง จ. มิเอะ กับ BOI เพื่อกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่าง SMEs ทั้งสองประเทศและสร้างโอกาสในการจับคู่ธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม ณ ศาลากลาง จ.มิเอะ - เมื่อ พ.ย. 2556 เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว และคณะเดินทางเยือน จ.มิเอะ โดยได้พบปะหารือกับ ผวจ. มิเอะ เรื่องการขยายความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนในไทย - เมื่อ ก.ย. 2555 ผวจ. มิเอะนำคณะนักธุรกิจมิเอะเยือนไทย เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนกับผู้ประกอบการการท่องเที่ยวไทย - ปี 2555 จัดตั้ง ASEAN Business Support Desk ที่กรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมการลงทุนของ SMEs ของ จ.มิเอะ สู่ภูมิภาคอาเซียน - ปี 2553 – 2554 จ. มิเอะส่งข้าราชการมาเป็นผู้เชี่ยวชาญในไทยตามคำร้องขอของ JICA เพื่อบรรยายและแนะนำโครงการ “การพัฒนาเมืองให้สวยงาม” ซึ่งเป็นนโยบายของ จ. มิเอะ - ปี 2553 มีบริษัทจากมิเอะมาลงทุนในไทยทั้งหมด 20 บริษัท เช่น บ. Yamamori และ บ. JSR เป็นต้น - สินค้าสำคัญที่ส่งออกไปไทย ได้แก่ ปลาแช่แข็ง เหล้าบ๊วย กาแฟสำเร็จรูป และส้มชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ส้มพันธุ์ Setoka พันธุ์ Shiranuhi และพันธุ์ wase-unshu |