การแจ้งเกิด

การแจ้งเกิด หรือ ขอสัญชาติไทยให้บุตร

หากต้องการขอสัญชาติไทยและสูติบัตรไทยให้บุตร สามารถยื่นคำร้องขอแจ้งเกิดบุตรได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
 
เอกสารบิดามารดาไทย
1. คำร้องขอจดทะเบียนคนเกิด สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือ ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
2. หนังสือเดินทางฉบับจริง
3. บัตรประจำตัวประชาชนไทยตัวจริง
4. ทะเบียนบ้านฉบับจริง
5. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือใบเปลี่ยนนามสกุล (หากเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมาก่อน)
6. สำเนาหนังสือเดินทางเล่มก่อนหน้าที่จะมีการเปลี่ยนนามสกุล
7. ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส หรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรส (กรณีบิดามารดาสมรส)
8. ใบสำคัญการหย่า สำเนาทะเบียนหย่า หรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวหย่า (กรณีมารดาเคยหย่า)
9. บัตรประจำตัวผู้พำนัก Residence card (ไซริวการ์ด)
 
เอกสารบิดามารดาญี่ปุ่น
1. คำร้องนิติกรณ์ สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือ ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
2. หนังสือเดินทางฉบับจริง หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ตัวจริง
3. ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น หรือโคเซกิโทฮงฉบับจริง 1 ชุด ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน
 
เอกสารของบิดามารดาต่างชาติที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น
1. คำร้องนิติกรณ์ สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือ ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
2. หนังสือเดินทางฉบับจริง
3. บัตรประจำตัวผู้พำนัก Residence card (ไซริวการ์ด)
4. กรณีบิดาเป็นทหารประจำการในฐานทัพสหรัฐอเมริกาประจำประเทศญี่ปุ่น กรุณานำบัตรประจำตัวทหารมาแสดงด้วย
 
เอกสารบุตร
1. ใบแจ้งการเกิด (ชุทเซโทโดเคะคิไซจิโคโชเมโช) ออกโดยที่ว่าการอำเภอญี่ปุ่น หรือกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน
***ในกรณีที่บุตรเกิดในฐานทัพสหรัฐอเมริกา กรุณาเตรียมหนังสือรับรองการเกิด (Consular Report of Birth Abroad) ออกโดยสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำประเทศญี่ปุ่น และใบเกิดจากโรงพยาบาล (Birth Certification) ที่ระบุรายละเอียดการเกิดของบุตร เช่น เวลาเกิด น้ำหนักแรกเกิด ฯลฯ โดยเอกสารดังกล่าวจะต้องผ่านการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา หรือ Notary Public ของสหรัฐอเมริกาด้วย***
2. คำแปลภาษาไทยของใบแจ้งการเกิด (ชุทเซโทโดเกะคิไซจิโคโชเมโช) พร้อมค่าธรรมเนียมในการรับรองเอกสาร ในข้อ 1. และข้อ 2. จำนวน 5,000 เยน  (ตัวอย่างคำแปลหนังสือรับรองการเกิด)
3. รูปถ่าย ถ่ายรวมกัน 3 คน และเห็นหน้าทุกคนชัดเจน 1 รูป
4. หากเคยแจ้งเกิดบุตรที่สถานเอกอัครราชทูตฯ สถานกงสุลใหญ่ฯ แล้วก่อนหน้านี้ กรุณาเตรียมสำเนาสูติบัตรของบุตรคนก่อนมาด้วย

หมายเหตุ
กรณีบิดามารดายังไม่ได้จดทะเบียนสมรสหรือบิดามารดาสมรสภายหลังบุตรเกิด บิดามารดาต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา โดยนำผลการตรวจ DNA ระบุความสัมพันธ์ระหว่างบิดาและบุตรมาแสดง
 
ขอให้ท่านส่ง “คำร้องนิติกรณ์” และ “สำเนาเอกสาร” ทุกรายการข้างต้น
ไปยังสถานกงสุลใหญ่ฯ ทางไปรษณีย์ก่อน 
เพื่อตรวจสอบ หลังจากนั้นสถานกงสุลใหญ่ฯ จะ อีเมล์ หรือ โทรศัพท์ ติดต่อกลับ เพื่อนัดวันเวลาให้ท่านเดินทางมายื่นคำร้อง
* หมายเหตุ : เอกสารตัวจริงยังไม่ต้องส่งมาทางไปรษณีย์ จะให้นำมาในวันนัดหมาย

 
เปิดทำการ
วันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.30 - 11.30 น. และ 13.30 - 15.00 น.
เว้นวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการของสถานกงสุลใหญ่ฯ

 
ติดต่อสอบถาม
Royal Thai Consulate – General, Osaka (Consular Section)
4F Bangkok Bank Bldg. 1-9-16 Kyutaro-machi, Chuo-ku, Osaka 541-0056
Tel: 06-6262-9226,9227 (เวลารับโทรศัพท์ 15.30 น. - 17.30 น.)
Fax: 06-6262-9228
E-mail: rtcgosaka.consularsection@gmail.com

สรุปข้อวินิจฉัยเรื่องสัญชาติของบุคคล ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กรณีบุคคลที่เกิดนอกราชอาณาจักรไทย ดังนี้

กรณีที่ สถานภาพของบิดาและมารดาขณะเกิด ช่วงเวลาที่เด็กเกิด สัญชาติเด็ก ข้อกฎหมาย
สัญชาติบิดา การสมรส สัญชาติมารดา
1 ไทย จดทะเบียน ไทย ก่อน 26 ก.พ. 35 ไทย มาตรา 7 (1)
ตั้งแต่ 26 ก.พ. 35 ไทย มาตรา 7 (1)
2 ไทย ไม่จด ไทย ก่อน 26 ก.พ. 35 ไทย มาตรา 7 (1) / มาตรา 10
ตั้งแต่ 26 ก.พ. 35 ไทย มาตรา 7 (1)
3 ไทย จดทะเบียน อื่นๆ ก่อน 26 ก.พ. 35 ไทย มาตรา 7 (1)
ตั้งแต่ 26 ก.พ. 35 ไทย มาตรา 7 (1)
4 ไทย ไม่จด อื่นๆ
ก่อน 26 ก.พ. 35

ไทย
มาตรา 7(1) แบบมีเงื่อนไขต้องผ่านพิสูจน์ความสัมพันธ์ตามมาตรา 7 วรรคสอง
ตั้งแต่ 26 ก.พ. 35 ไทย (กฎหมายมาตราเดียวกัน)
5 ไทย ไม่จด อื่นๆ ตั้งแต่เกิดถึงปัจจุบัน ไม่ได้ไทย ถ้าไม่ผ่านการพิสูจน์ความสัมพันธ์การเป็นบิดาและบุตร
6 อื่นๆ จดทะเบียน ไทย ก่อน 26 ก.พ. 35 ไทย มาตรา 7 (1) / มาตรา 10
ตั้งแต่ 26 ก.พ. 35 ไทย มาตรา 7 (1)
7 อื่นๆ ไม่จด ไทย ก่อน 26 ก.พ. 35 ไทย มาตรา 7 (1) / มาตรา 10
ตั้งแต่ 26 ก.พ. 35 ไทย มาตรา 7 (1)

คำถามเกี่ยวกับสัญชาติ

Q. จะขอสัญชาติไทยให้กับบุตรที่เกิดในประเทศญี่ปุ่นได้หรือไม่ และต้องทำอย่างไร
A. บุตรของคนไทยที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น จะได้สัญชาติไทยตามกฎหมายเมื่อไปแจ้งเกิดที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือสถานกงสุลใหญ่ จากนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือสถานกงสุลใหญ่ จะออกสูติบัตรให้ โดยบิดามารดาไทยจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเอง แบ่งเป็นกรณีได้ดังนี้
1. กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถมายื่นคำร้องเพียงผู้เดียวได้
2. กรณีมารดาไทย ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดาของบุตร และมารดาไม่ประสงค์ใส่ชื่อบิดาในสูติบัตรของบุตร มารดาสามารถยื่นคำร้อง ขอแจ้งเกิดให้บุตรเพียงผู้เดียวได้
3. กรณีมารดาไทย ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดาของบุตร แต่มารดาประสงค์ใส่ชื่อบิดาในสูติบัตรของบุตร มารดาและบิดาจะต้องมาให้ถ้อยคำเพื่อประกอบการยื่นคำร้องขอแจ้งเกิดให้บุตรที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยนำผลการตรวจ DNA ระบุความสัมพันธ์ระหว่างบิดาและบุตรมาแสดง
Q. หากไม่แจ้งเกิดให้บุตร จะมีผลอย่างไร
A. บุตรจะไม่มีสัญชาติไทย และไม่สามารถขอทำหนังสือเดินทางไทยและบัตรประจำตัวประชาชนไทยได้
Q. บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึงอะไร
A. บุตรที่เกิดในระหว่างสมรส หรือบุตรที่บิดาได้จดทะเบียนรับรองเป็นบุตรแล้ว
Q. การได้สัญชาติไทยย้อนหลังคืออะไร
A. เดิมพระราชบัญญัติสัญชาติ ปี พ.ศ. 2508 ยินยอมให้บุคคลได้สัญชาติไทยในวงจำกัด ต่อมาเมื่อมีการแก้ไขพระราชบัญญัติสัญชาติในปี พ.ศ. 2535 จึงเปิดโอกาสให้บุคคลได้รับสัญชาติไทยได้มากขึ้น รวมทั้งผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติสัญชาติฉบับแก้ไขมีผลบังคับใช้ด้วย ดังนั้น ผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และมิได้สัญชาติไทยเมื่อแรกเกิดจึงได้รับสัญชาติไทยเป็นการย้อนหลัง
Q. ในสูติบัตรที่ออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอไทย ไม่ได้ระบุว่ามีสัญชาติไทย จะสามารถขอสัญชาติไทยให้บุตรได้หรือไม่
A. ได้ สำหรับบุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 สามารถยื่นคำร้องขอสัญชาติไทยให้บุตรย้อนหลังได้ ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอที่มีชื่อบุตรอยู่ในทะเบียนบ้าน
Q. คนที่มีสิทธิได้รับสัญชาติไทย อายุมากกว่า 20 ปี ต้องการแจ้งเกิด สามารถแจ้งเกิดที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้หรือไม่ และจะถือว่าเป็นการเลือกสัญชาติหรือไม่
A. ได้ เนื่องจากไม่มีข้อห้ามไว้ และไม่ถือว่าเป็นการเลือกสัญชาติ
Q. บุคคลสัญชาติไทยที่ต้องการขอถือสัญชาติญี่ปุ่น ต้องดำเนินการอย่างไร
A. กรุณาติดต่อขอทราบรายละเอียดจากที่ว่าการอำเภอ/เขตญี่ปุ่น หรือกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น (โฮมุเคียวคุ)
Q. คนไทยเมื่อแปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าว จะเสียสัญชาติไทยโดยทันทีหรือไม่
A. คนไทยที่แปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าวย่อมเสียสัญชาติไทย แต่การนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อได้ขอสละสัญชาติไทย และมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเท่านั้น
Q. เด็กถือสองสัญชาติได้จนถึงอายุกี่ปี และหลังจากถึงอายุที่กำหนดแล้วต้องทำอย่างไร
A. เด็กถือสองสัญชาติได้จนถึงอายุ 20 ปี จากนั้นจึงทำการเลือกสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง
Q. การสละสัญชาติไทยต้องดำเนินการอย่างไร
A. ผู้ที่จะยื่นคำร้องขอสละสัญชาติไทยนั้น ต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
1. ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำร้องต่อผู้บังคับการกองบังคับการกองบัญชาการตำรวจสันติบาล
2. ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำร้องต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น
3. ผู้ที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำร้องต่อสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ ที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้น
*** สำหรับผู้ที่พำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่น สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับเอกสารได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือสถานกงสุลใหญ่ฯ
Q. บุคคลที่อ้างว่ามีสัญชาติไทยซึ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศด้วยหนังสือเดินทางจากต่างประเทศหรือหนังสือสำคัญประจำตัว มีความประสงค์จะขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านโดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทย ควรทำอย่างไร
A. ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนที่เขต/อำเภอ เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้
1. เขต/อำเภอจะส่งตัวผู้ขอเพิ่มชื่อให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองพิสูจน์สัญชาติ
2. หากผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้มีสัญชาติไทย ให้เจ้าบ้านติดต่อเขต/อำเภอเพื่อสอบสวน
3. เขต/อำเภอจะกำหนดเลขประจำตัวประชาชนให้
4. เขต/อำเภอเพิ่มชื่อบุคคลดังกล่าวในทะเบียนบ้าน
Q. บุคคลที่เกิดในต่างประเทศโดยมีหลักฐานรับรองการเกิดแสดงว่ามีสิทธิได้รับสัญชาติไทย จะสามารถเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านไทยได้หรือไม่
A. ได้ โดยนำสูติบัตรที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ ไปยื่นขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านต่อนายทะเบียนเขต/อำเภอ
Q. เด็กชายซึ่งมีสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ จะต้องเกณฑ์ทหารหรือไม่
A. เมื่ออายุครบ 18 ปี จะต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินในประเทศไทย
Q. หญิงไทยเมื่อได้สัญชาติอื่นตามสามีแล้ว จำเป็นต้องสละสัญชาติไทยหรือไม่
A. กฎหมายไทยมิได้กำหนดว่าให้สละสัญชาติไทย แต่หากประสงค์จะสละสัญชาติไทย ก็สามารถยื่นคำร้องเพื่อขอสละสัญชาติไทยได้ อย่างไรก็ดี กรณีขอแปลงสัญชาติเป็นญี่ปุ่น กฎหมายญี่ปุ่นบังคับให้สละสัญชาติเดิมภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับสัญชาติญี่ปุ่น

เวลาทำการ

(สำหรับคนไทย)
 

เวลายื่นเรื่องนิติกรณ์
และหนังสือเดินทาง

 
ช่วงเช้า
 

๐๙.๓๐ - ๑๑.๓๐ น.

 
ช่วงบ่าย
 

๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น.

 
タイ コロナウィルスに関して
pasport
บริการงานกงสุล タイ人諸手続き/認証
บัตรประจำตัวประชาชนไทย  身分証明書
งานคุ้มครองคนไทย タイ人保護
ลงทะเบียนคนไทย タイ人登録
แผนอพยพคนไทยในเขตคันไซ タイ人避難対策
แผนอพยพคนไทยในเขตคันไซ タイ人避難対策