จ้งจดทะเบียนสมรส (กรณีจดทะเบียนสมรมที่ญี่ปุ่นเสร็จเรียบร้อยแล้ว)

การจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
(เริ่มตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2566)


ขอให้ท่านส่ง “คำร้องนิติกรณ์” และ “สำเนาเอกสาร” ทุกรายการไปยังสถานกงสุลใหญ่ฯ ทางไปรษณีย์ก่อนเพื่อตรวจสอบ หลังจากนั้นสถานกงสุลใหญ่ฯ จะติดต่อกลับทางอีเมลหรือทางโทรศํพท์ เพื่อนัดหมายวันเวลาให้ท่านเดินทางมายื่นคำร้อง

1. กรณีจดทะเบียนสมรสกับชาวญี่ปุ่น

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
          1. นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอไทย และผ่านการประทับตรารับรองนิติกรณ์จากกระทรวงการต่างประเทศไทยแล้ว ไม่เกิน 3 เดือน มาขอประทับตรารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊ก)
          2. นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ประทับตรารับรองจากสถานกงสุลใหญ่ฯ แล้ว ไปขอจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น 
          3. ขอทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) 1 ชุด ที่ระบุว่าได้จดทะเบียนสมรสแล้วจากอำเภอญี่ปุ่น  
          4. แปลทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) เป็นภาษาอังกฤษ และนำไปประทับตรารับรองลายมือชื่อผู้แปลที่โนตารีพับลิค (โคโชนินยาคุบะ) จากนั้น นำไปประทับตรารับรองที่สำนักกฎหมาย (โฮมุเคียคุ) ที่โนตารีพับลิคนั้น ๆ สังกัดอยู่ แล้วจึงนำไปประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) ตามลำดับ

 
ปัจจุบันโนตารีพับลิค (โคโชนินยาคุบะ) ในกรุงโตเกียว จ. ฮอกไกโด จ. มิยากิ จ. คานากาวะ จ. ชิซึโอกะ จ. ไอจิ นครโอซากา และ จ. ฟูกูโอกะ มีบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One-Stop Service) กล่าวคือ หากยื่นคำร้องที่โนตารีพับลิค (โคโชนินยาคุบะ) ในจังหวัดดังกล่าวสามารถขอรับตราประทับของโนตารีพับลิค (โคโชนินยาคุบะ) สำนักกฎหมาย (โฮมุเคียคุ) และกระทรวงการต่างประเทศ (ไกมุโช) ได้ ในคราวเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สำนักกฎหมาย (โฮมุเคียคุ) และกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) อีก
One-Stop Service ในนครโอซากา https://www.koshonin.gr.jp/list/ohsaka#prefectures

  5. แปลเอกสารทั้งหมดที่ได้รับจากหน่วยงานข้างต้น รวมทั้งทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) ที่ผ่านการประทับตรารับรองตามข้อ 4. แล้ว เป็นภาษาไทย

ขั้นตอนการดำเนินการที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา

          6. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) ที่ผ่านการประทับตรารับรองตามข้อ 4. แล้ว พร้อมคำแปลภาษาไทยของเอกสารแนบทั้งหมด มาขอประทับตรารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
*** หากคู่สมรสทั้งสองฝ่ายเดินทางกลับประเทศไทยด้วยตนเอง ไม่ต้องยื่นคำร้องตามข้อ 7. - ข้อ 9. ***
          7. ขอทำหนังสือมอบอำนาจที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (เพื่อขอบันทึกเรื่องการสมรสที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย)
          8. ขอทำหนังสือข้อตกลงการใช้ชื่อสกุลที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (โดยคู่สมรสฝ่ายที่ไม่สามารถเดินทางไปลงลายมือชื่อที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยด้วยตนเองได้ต้องมาลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ฯ)
          9. ขอทำหนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านาม ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (เฉพาะฝ่ายหญิงที่ถือสัญชาติไทย)

ขั้นตอนการแจ้งสมรสที่ประเทศไทย

          10. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ประทับตรารับรองจากสถานกงสุลใหญ่ฯ แล้ว ไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย
          11. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ผ่านขั้นตอนในข้อ 10. แล้ว ไปขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรส (คร.22) ที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยที่ตนมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านไทย
          12. ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยออกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรสไทย และแก้ไขคำนำหน้าชื่อ เปลี่ยนนามสกุลตามสามีหรือภรรยาภายหลังการสมรสในทะเบียนบ้านและทะเบียนราษฎไทย
          13. ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยใหม่ที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย และขอทำหนังสือเดินทางใหม่ที่กระทรวงการต่างประเทศไทย (กรณีที่ไม่ได้เดินทางกลับประเทศไทย สามารถยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ และหนังสือเดินทางใหม่ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้)



 

2. กรณีจดทะเบียนสมรสกับคนไทยหรือชาวต่างชาติที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น

          1. นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอไทย และผ่านการประทับตรารับรองนิติกรณ์จากกระทรวงการต่างประเทศไทยแล้ว ไม่เกิน 3 เดือน มาขอประทับตรารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
          2. นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ประทับตรารับรองจากสถานกงสุลใหญ่ฯ แล้ว ไปขอจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น 
          3. ขอหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) 1 ชุด จากอำเภอญี่ปุ่น
          4. แปลหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) เป็นภาษาอังกฤษ และนำไปประทับตรารับรองลายมือชื่อผู้แปลที่โนตารีพับลิค (โคโชนินยาคุบะ) จากนั้น นำไปประทับตรารับรองที่สำนักกฎหมาย (โฮมุเคียคุ) ที่โนตารีพับลิคนั้น ๆ สังกัดอยู่ แล้วจึงนำไปประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) ตามลำดับ
          5. แปลเอกสารทั้งหมดที่ได้รับจากหน่วยงานข้างต้น รวมทั้งหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) ที่ผ่านการประทับตรารับรองตามข้อ 4. แล้วแปลเป็นภาษาไทย

 

ขั้นตอนการดำเนินการที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา

          6. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) ที่ผ่านการประทับตรารับรองตามข้อ 4. แล้ว พร้อมคำแปลภาษาไทย มาขอประทับตรารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
*** หากคู่สมรสทั้งสองฝ่ายเดินทางกลับประเทศไทยด้วยตนเอง ไม่ต้องยื่นคำร้องตามข้อ 7. - ข้อ 9. ***
          7. ขอทำหนังสือมอบอำนาจ ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (เพื่อขอบันทึกเรื่องการสมรสที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย)
          8. ขอทำหนังสือข้อตกลงการใช้ชื่อสกุล ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (โดยคู่สมรสฝ่ายที่ไม่สามารถเดินทางไปลงลายมือชื่อที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยด้วยตนเองได้ ต้องมาลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ฯ)
          9. ขอทำหนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านาม ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (เฉพาะฝ่ายหญิงที่ถือสัญชาติไทย)

 
ขั้นตอนการแจ้งสมรสที่ประเทศไทย
          10. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ประทับตรารับรองจากสถานกงสุลใหญ่ฯ แล้ว ไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย
          11. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ผ่านขั้นตอนในข้อ 10. แล้ว ไปขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรส (คร.22) ที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไทย
          12. ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยออกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรสไทย และแก้ไขคำนำหน้าชื่อ เปลี่ยนนามสกุลตามสามีหรือภรรยาภายหลังการสมรสในทะเบียนบ้านและทะเบียนราษฎรไทย
          13. ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยใหม่ที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย และขอทำหนังสือเดินทางใหม่ที่กระทรวงการต่างประเทศไทย (กรณีที่ไม่ได้เดินทางกลับประเทศไทย สามารถยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ และหนังสือเดินทางใหม่ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้)

 

การขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรสที่ประเทศไทย

หลังจากจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว และต้องการขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรสที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย คู่สมรสทั้งสองฝ่ายสามารถกลับไปยื่นคำร้องได้ด้วยตนเองที่ประเทศไทย แต่หากไม่สะดวกไปยื่นด้วยตนเอง สามารถขอทำเรื่อง รับทราบคำแปลเอกสาร หนังสือมอบอำนาจ หนังสือข้อตกลงการใช้ชื่อสกุล และ หนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านาม (กรณีฝ่ายหญิงถือสัญชาติไทย) ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา ได้ โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้


          1. คำร้องนิติกรณ์ 3 ฉบับ /หนังสือมอบอำนาจ 2 ฉบับ สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ 
          2. สำเนาหนังสือเดินทาง 5 ชุด
          3. สำเนาบัตรประชาชนไทย 5 ชุด
          4. สำเนาทะเบียนบ้านไทย 5 ชุด
          5. หากเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล กรุณาเตรียมสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ หรือใบเปลี่ยนนามสกุลมาด้วย
          6. สำเนาบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือบัตรไซริวการ์ด 5 ชุด
          7. หากสมรสกับคนญี่ปุ่น ต้องเตรียมทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น หรือโคเซกิโทฮง ระบุเรื่องการสมรสฉบับจริง ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน และคำแปลภาษาไทย พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด
          8. หากสมรสกับคนไทยหรือคนต่าง ชาติที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น ต้องเตรียมหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส หรือคนอินจุริโชเมโชฉบับจริง ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการตางประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน และคำแปลภาษาไทย พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด
          9. สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบขับขี่รถยนต์ของคู่สมรสหรือบัตรประจำตัวผู้พำนัก (แล้วแต่กรณี) 2 ชุด
         10. สำเนาบัตรประชาชนไทยและทะเบียนบ้านไทยของผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 2 ชุด
***กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องการกลับไปยื่นคำร้องด้วยตนเองที่อำเภอไทย โดยที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเดินทางไปลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงการใช้ชื่อสกุลด้วยได้ สามารถยื่นคำร้องขอทำ หนังสือข้อตกลงการใช้ชื่อสกุล และขอตราประทับรับรองในเอกสารแปล ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ก่อน แล้วจึงนำเอกสารดังกล่าวกลับไปดำเนินการต่อที่ประเทศไทย โดยเตรียมคำร้องนิติกรณ์ (สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ) และเอกสารตามข้อ 2. - ข้อ 9.
         


    

 
 
ค่าธรรมเนียม
 
- รับรองลายมือชื่อเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น 2,500 เยน ต่อ ตราประทับ
- ขอตราประทับรับรองในเอกสารแปลทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) หรือ หนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) 2,500 เยน ต่อ ตราประทับ
- ขอหนังสือตกลงการใช้ชื่อสกุล 2,500 เยน ต่อ 1 ฉบับ
- ขอหนังสือรับรองการใช้คำนำหน้า (กรณีฝ่ายหญิงถือสัญชาติไทย) 2,500 เยน ต่อ 1 ฉบับ
- ขอหนังสือมอบอำนาจ 2,500 เยน ต่อ 1 ฉบับ

หมายเหตุ
- ในบางกรณีสถานกงสุลใหญ่ฯ อาจขอเอกสารจำเป็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมด้วย
- กรุณาลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องในเอกสารสำเนาทุกฉบับ
 
ติดต่อสอบถาม
Royal Thai Consulate – General, Osaka (Consular Section)
4F Bangkok Bank Bldg. 1-9-16 Kyutaro-machi, Chuo-ku, Osaka 541-0056
Tel: 06-6262-9226,9227 (เวลารับโทรศัพท์ 15.30 น. - 17.30 น.)
Fax: 06-6262-9228



 

เวลาทำการ

(สำหรับคนไทย)
 

เวลายื่นเรื่องนิติกรณ์
และหนังสือเดินทาง

 
ช่วงเช้า
 

๐๙.๓๐ - ๑๑.๓๐ น.

 
ช่วงบ่าย
 

๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น.

 
タイ コロナウィルスに関して
pasport
บริการงานกงสุล タイ人諸手続き/認証
บัตรประจำตัวประชาชนไทย  身分証明書
งานคุ้มครองคนไทย タイ人保護
ลงทะเบียนคนไทย タイ人登録
แผนอพยพคนไทยในเขตคันไซ タイ人避難対策
แผนอพยพคนไทยในเขตคันไซ タイ人避難対策