関西ビジネス:兵庫

ข้อมูลจังหวัดมิเอะ
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา
           กันยายน 2557
ที่ตั้ง : อยู่ในเขตคันไซของภูมิภาคคิงกิ เกาะฮอนชู มีอาณาเขตติดต่อกับ จ. ไอจิ จ. กิฟุ จ. ชิกะ จ. เกียวโต จ. นารา และ 
         จ. วากายามา
พื้นที่ : 5761 ตร.กม. (อันดับ 24 ของญี่ปุ่น; มีเมืองหลวง คือเมืองทสึ (Tsu))
ประชากร : 1,829,063 คน (มากอันดับ 22 หรือประมาณ 1.44 % ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2556)
GDP : 7.37 ล้านล้านเยน (มากอันดับ 19 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2553)
GDP per Capita : 2,863,000 เยน (มากอันดับ 9 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2553)
ผู้บริหารท้องถิ่น -    นาย Eikei Suzuki ผู้ว่าราชการจังหวัดมิเอะ สนับสนุนโดยพรรค LDP, NKP,และ Your Party (สมัยแรก, 2554)
-    นาย Yasuyuki Maeba  นายกเทศมนตรีเมืองทสึ, สนับสนุนโดยพรรค DPJ (สมัยแรก, 2554)
โครงสร้างอุตสาหกรรม (2554) ภาคการผลิต (31.5%) ภาคบริการ (15.6%) อสังหาริมทรัพย์ (11.2%) ค้าปลีกค้าส่ง (9.7%) การบริการภาครัฐ (8.7%) การคมนาคม (5.7%) การก่อสร้าง (4.8%) การเงินและการประกันภัย (3.9%) อื่น ๆ (8.9%)
จุดแข็งด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ ศูนย์กลางอุตสาหกรรม จ. มิเอะ มีพื้นที่อยู่ริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองโอซากาและเมือง นาโกยาจึงมีนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานที่เป็นฐานการผลิตและขนส่งที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น. จ. มิเอะ ยังเป็นหนึ่งในแนวหน้าด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเทคโนโลยีการผลิตและวัสดุระดับสูง ทั้งยังให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ เช่น ยานยนต์ ผลึกเหลว (liquid crystal) และผลิตภัณฑ์อื่นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ Advanced Materials Innovation Center (AMIC) ขึ้นที่อำเภอยกไกจิ เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการผลิตโดยเฉพาะ SMEs และพัฒนาวัสดุชั้นสูง (Advanced Material) และเซลส์เชื้อเพลิง โดยมีความร่วมมือกับนักวิจัยจากประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศส
Greater Nagoya Initiative (GNI) จ. มิเอะ เป็นส่วนหนึ่งใน GNI ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมการลงทุนขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นที่มีเมืองนาโกยาเป็นจุดศูนย์กลาง มีพื้นที่รวม 21,094 ตร.กม. มีเป้าหมายในการส่งเสริมอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ รวมถึงดึงดูดการลงทุน เทคโนโลยี และทรัพยากรบุคคลให้เข้ามาในพื้นที่ โดยในปี 2553 เขต GNI มี GDP เท่ากับ 4.91              แสนล้านดอลลาห์สหรัฐ ครองสัดส่วนร้อยละ 1 ของ GDP โลก และมากกว่าเบลเยี่ยม
การส่งเสริมธุรกิจต่างชาติ จากนโยบายการขยายภาคอุตสาหกรรมในจังหวัด จึงมีมาตรการจูงใจให้มีการลงทุนในจังหวัด (Generous Subsidies) ซึ่งจะมีการอุดหนุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การอุดหนุนสำหรับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ 10 – 12% (ไม่เกิน 500 ล้านเยน) การอุดหนุนสำหรับบริษัทต่างชาติที่จะขยายการลงทุนสู่เอเชียใน จ.มิเอะ 20% (ไม่เกิน 500 ล้านเยน) เป็นต้น 
อุตสาหกรรมหลัก อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล
ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญ ชาเขียว เนื้อวัว (Matsusaka) ไข่มุก (Mikimoto Pearl) และส้มพันธุ์นันคิ
บริษัทญี่ปุ่นที่สำคัญในจังหวัด HONDA, TOSHIBA, SHARP, JSR, AJINOMOTO, และ MITSUBISHI CHEMICAL
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ปราสาท Iga Ueno, ศาลเจ้า Ise, เส้นทางแสวงบุญ Kumano Kodo, และแหล่งผลิตไข่มุก (Mikimoto)  
ข้อมูลที่น่าสนใจ -    มีกำลังคนภาคแรงงานจำนวน 895,000 คน มากเป็นอันดับ 22 ของญี่ปุ่น (2553)
-    มีมูลค่าสินค้าที่ขนส่งทางเรือ 9.4 พันล้านเยน มากเป็นอันดับ 9 ของญี่ปุ่น (2553)
-    เนื้อมัสซึซากะเป็นหนึ่งในสุดยอดเนื้อของญี่ปุ่นร่วมกับเนื้อโกเบ (จ.เฮียวโกะ) และเนื้อโอมิ (จ.ชิกะ)
ความสัมพันธ์กับไทย -    จำนวนคนไทยที่ลงทะเบียนทางการ 993 คน เป็นอันดับ 2 ของเขตคันไซ รองจาก จ. โอซากา (มกราคม 2557)
-    เมื่อ พ.ย. 2556 มีการลงนาม MOU ความร่วมมือระหว่าง จ. มิเอะ กับ BOI เพื่อกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่าง SMEs ทั้งสองประเทศและสร้างโอกาสในการจับคู่ธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม ณ ศาลากลาง จ.มิเอะ
-    เมื่อ พ.ย. 2556 เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว และคณะเดินทางเยือน จ.มิเอะ โดยได้พบปะหารือกับ ผวจ. มิเอะ เรื่องการขยายความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนในไทย
-    เมื่อ ก.ย. 2555  ผวจ. มิเอะนำคณะนักธุรกิจมิเอะเยือนไทย เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนกับผู้ประกอบการการท่องเที่ยวไทย
-    ปี 2555 จัดตั้ง ASEAN Business Support Desk  ที่กรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมการลงทุนของ SMEs ของ จ.มิเอะ            สู่ภูมิภาคอาเซียน
-    ปี 2553 – 2554 จ. มิเอะส่งข้าราชการมาเป็นผู้เชี่ยวชาญในไทยตามคำร้องขอของ JICA เพื่อบรรยายและแนะนำโครงการ “การพัฒนาเมืองให้สวยงาม” ซึ่งเป็นนโยบายของ จ. มิเอะ
-     ปี 2553 มีบริษัทจากมิเอะมาลงทุนในไทยทั้งหมด 20 บริษัท เช่น บ. Yamamori และ บ. JSR เป็นต้น
-    สินค้าสำคัญที่ส่งออกไปไทย ได้แก่ ปลาแช่แข็ง เหล้าบ๊วย กาแฟสำเร็จรูป และส้มชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ส้มพันธุ์ Setoka พันธุ์ Shiranuhi และพันธุ์ wase-unshu

เวลาทำการ

(สำหรับคนไทย)
 

เวลายื่นเรื่องนิติกรณ์
และหนังสือเดินทาง

 
ช่วงเช้า
 

๐๙.๓๐ - ๑๑.๓๐ น.

 
ช่วงบ่าย
 

๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น.

 
タイ コロナウィルスに関して
pasport
บริการงานกงสุล タイ人諸手続き/認証
บัตรประจำตัวประชาชนไทย  身分証明書
งานคุ้มครองคนไทย タイ人保護
ลงทะเบียนคนไทย タイ人登録
แผนอพยพคนไทยในเขตคันไซ タイ人避難対策
แผนอพยพคนไทยในเขตคันไซ タイ人避難対策