แจ้งจดทะเบียนหย่า (กรณีจดทะเบียนหย่าที่ญี่ปุ่นเสร็จเรียบร้อยแล้ว)

การจดทะเบียนหย่าที่อำเภอญี่ปุ่น
 

1. กรณีจดทะเบียนหย่ากับชาวญี่ปุ่น

ขั้นตอนการจดทะเบียนหย่าที่อำเภอญี่ปุ่น

1. ขอทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) 1 ชุด ที่ระบุว่าได้จดทะเบียนหย่าแล้วจากอำเภอญี่ปุ่น (เพื่อยื่นประกอบการแจ้งหย่าที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย)
2. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) ไปประทับตรากระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช)
3. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) ที่ประทับตรากระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) แล้วไม่เกิน 3 เดือน แล้วไปแปลเป็นภาษาไทย (สามารถดูตัวอย่างการแปลในเว็บไซต์ของสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้)

ขั้นตอนการดำเนินการที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา

4. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) ที่ประทับตรากระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) แล้วไม่เกิน 3 เดือน พร้อมคำแปลภาษาไทย มาขอตราประทับรับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
*** หากเดินทางกลับประเทศไทยด้วยตนเอง ไม่ต้องยื่นคำร้องตามข้อ 5. - ข้อ 6. ***

5. ขอทำ หนังสือมอบอำนาจ ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (เพื่อแจ้งหย่าที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย)
6. ขอทำ หนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านาม ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (เฉพาะฝ่ายหญิงที่ถือสัญชาติไทย)

ขั้นตอนการแจ้งหย่าที่ประเทศไทย

7. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ประทับตรารับรองจากสถานกงสุลใหญ่ฯ แล้วไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย
8. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ผ่านขั้นตอนในข้อ 9. แล้วไปแจ้งบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-หย่า (คร.22) ที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยที่ตนมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านไทย
9. ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยออกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-หย่าไทย และแก้ไขคำนำหน้าชื่อ เปลี่ยนเป็นนามสกุลเดิมของตนเองภายหลังการหย่าในทะเบียนบ้านและทะเบียนราษฎรไทย
10. ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยใหม่ที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย และขอทำหนังสือเดินทางใหม่ที่กระทรวงการต่างประเทศไทย (กรณีที่ไม่ได้เดินทางกลับประเทศไทย สามารถยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ และหนังสือเดินทางใหม่ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้)
 


2. กรณีจดทะเบียนหย่ากับคนไทยหรือชาวต่างชาติที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น

ขั้นตอนการจดทะเบียนหย่าที่อำเภอญี่ปุ่น

1. ขอหนังสือรับรองการจดทะเบียนหย่า (ริคงจุริโชเมโช) 1 ชุด จากอำเภอญี่ปุ่น (เพื่อยื่นประกอบการแจ้งหย่าที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย)
2. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนหย่า (ริคงจุริโชเมโช) ไปประทับตรากระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช)
3. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนหย่า (ริคงจุริโชเมโช) ที่ประทับตรากระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) แล้วไม่เกิน 3 เดือน ไปแปลเป็นภาษาไทย
(สามารถดูตัวอย่างการแปลในเว็บไซต์ของสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้)

ขั้นตอนการดำเนินการที่สถานกงสุลใหญ่

4. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนหย่า (ริคงจุริโชเมโช) ที่ประทับตรากระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) แล้วไม่เกิน 3 เดือน พร้อมคำแปลภาษาไทย มาขอตราประทับรับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
*** หากเดินทางกลับประเทศไทยด้วยตนเอง ไม่ต้องยื่นคำร้องตามข้อ 5. - ข้อ 6. ***

5. ขอทำ หนังสือมอบอำนาจ ที่สถานกงสุลใหญ่ (เพื่อแจ้งหย่าที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย)
6. ขอทำ หนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านาม ที่สถานกงสุลใหญ่ (เฉพาะฝ่ายหญิงที่ถือสัญชาติไทย)

ขั้นตอนการแจ้งหย่าที่ประเทศไทย

7. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนหย่า (ริคงจุริโชเมโช) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ประทับตรารับรองจากสถานกงสุลใหญ่ฯ แล้วไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย
8. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนหย่า (ริคงจุริโชเมโช) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ผ่านขั้นตอนในข้อ 9. แล้วไปแจ้งบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-หย่า (คร.22) ที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไทย
10. ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยออกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-หย่าไทย และแก้ไขคำนำหน้าชื่อ เปลี่ยนเป็นนามสกุลเดิมของตนเองภายหลังการหย่าในทะเบียนบ้านและทะเบียนราษฎรไทย
11. ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยใหม่ที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย และขอทำหนังสือเดินทางใหม่ที่กระทรวงการต่างประเทศไทย (กรณีที่ไม่ได้เดินทางกลับประเทศไทย สามารถยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ และหนังสือเดินทางใหม่ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้)


การขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวหย่า

หลังจากจดทะเบียนหย่าที่อำเภอญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว และประสงค์จะขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวหย่าที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย สามารถกลับไปยื่นคำร้องได้ด้วยตนเองที่ประเทศไทย หากไม่สะดวกไปยื่นด้วยตนเอง สามารถขอทำหนังสือมอบอำนาจ ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

1. คำร้องนิติกรณ์มอบอำนาจ 1 ชุด สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
2. สำเนาหนังสือเดินทาง 4 ชุด
3. สำเนาบัตรประชาชนไทย 4 ชุด
4. สำเนาทะเบียนบ้านไทย 4 ชุด
5. หากเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล กรุณาเตรียมสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ หรือใบเปลี่ยนนามสกุลมาด้วย
6. สำเนาทะเบียนสมรส หรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรสไทย 1 ชุด
7. สำเนาบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือบัตรไซริวการ์ด 4 ชุด
8. หากหย่ากับคนญี่ปุ่น ต้องเตรียมทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น หรือโคเซกิโทฮง ระบุเรื่องการหย่าฉบับจริง ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน และคำแปลภาษาไทย พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด
9. หากหย่ากับคนไทยหรือคนต่างชาติที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น ต้องเตรียมหนังสือรับรองการจดทะเบียนหย่า หรือ ริคงจุริโชเมโชฉบับจริง ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน และคำแปลภาษาไทย พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด
10. หากมีบุตรด้วยกัน และบุตรมีสัญชาติไทย กรุณาเตรียมสำเนาสูติบัตรบุตรมาด้วย
11. สำเนาบัตรประชาชนไทยและทะเบียนบ้านไทยของผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 2 ชุด

 
ขอให้ท่านส่ง “คำร้องนิติกรณ์” และ “สำเนาเอกสาร” ทุกรายการข้างต้น ไปยังสถานกงสุลใหญ่ฯ ทางไปรษณีย์ก่อน เพื่อตรวจสอบ หลังจากนั้นสถานกงสุลใหญ่ฯ จะโทรศัพท์ติดต่อกลับ เพื่อนัดวันเวลาให้ท่านเดินทางมายื่นคำร้อง


เปิดทำการ       วันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.30 น. - 11.30 น. และ 13.30 น. - 15.00 น.
            เว้นวันเสาร์ - วันอาทิตย์ และวันหยุดราชการของสถานกงสุลใหญ่ฯ  
 
ติดต่อสอบถาม
Royal Thai Consulate – General, Osaka (Consular Section)
1F Bangkok Bank Bldg. 1-9-16 Kyutaro-machi, Chuo-ku, Osaka 541-0056
Tel: 06-6262-9226,9227 (เวลารับโทรศัพท์ 15.30 น. - 17.30 น.)
Fax: 06-6262-9228



 

เวลาทำการ

(สำหรับคนไทย)
 

เวลายื่นเรื่องนิติกรณ์
และหนังสือเดินทาง

 
ช่วงเช้า
 

๐๙.๓๐ - ๑๑.๓๐ น.

 
ช่วงบ่าย
 

๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น.

 
タイ コロナウィルスに関して
pasport
บริการงานกงสุล タイ人諸手続き/認証
บัตรประจำตัวประชาชนไทย  身分証明書
งานคุ้มครองคนไทย タイ人保護
ลงทะเบียนคนไทย タイ人登録
แผนอพยพคนไทยในเขตคันไซ タイ人避難対策
แผนอพยพคนไทยในเขตคันไซ タイ人避難対策