การจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
1. กรณีจดทะเบียนสมรสกับชาวญี่ปุ่น
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
1. นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอไทย และผ่านการประทับตรารับรองนิติกรณ์จากกระทรวงการต่างประเทศไทยแล้ว ไม่เกิน 3 เดือน มาขอประทับตรารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊ก)
2. นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ประทับตรารับรองจากสถานกงสุลใหญ่ฯ แล้ว ไปขอจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
3. ขอทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) 1 ชุด ที่ระบุว่าได้จดทะเบียนสมรสแล้วจากอำเภอญี่ปุ่น
4. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) ไปประทับตรารับรองที่กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช)
5. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) ที่ประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) แล้วไปแปลเป็นภาษาไทย (สามารถดูตัวอย่างการแปลในเว็บไซต์ของสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้)
ขั้นตอนการดำเนินการที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา
6. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) ที่ประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) แล้ว พร้อมคำแปลภาษาไทย มาขอประทับตรารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
*** หากคู่สมรสทั้งสองฝ่ายเดินทางกลับประเทศไทยด้วยตนเอง ไม่ต้องยื่นคำร้องตามข้อ 7. - ข้อ 9. ***
7. ขอทำหนังสือมอบอำนาจที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (เพื่อขอบันทึกเรื่องการสมรสที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย)
8. ขอทำหนังสือข้อตกลงการใช้ชื่อสกุลที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (โดยคู่สมรสฝ่ายที่ไม่สามารถเดินทางไปลงลายมือชื่อที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยด้วยตนเองได้ต้องมาลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ฯ)
9. ขอทำหนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านาม ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (เฉพาะฝ่ายหญิงที่ถือสัญชาติไทย)
ขั้นตอนการแจ้งสมรสที่ประเทศไทย
10. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ประทับตรารับรองจากสถานกงสุลใหญ่ฯ แล้ว ไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย
11. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ผ่านขั้นตอนในข้อ 10. แล้ว ไปขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรส (คร.22) ที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยที่ตนมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านไทย
12. ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยออกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรสไทย และแก้ไขคำนำหน้าชื่อ เปลี่ยนนามสกุลตามสามีหรือภรรยาภายหลังการสมรสในทะเบียนบ้านและทะเบียนราษฎไทย
13. ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยใหม่ที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย และขอทำหนังสือเดินทางใหม่ที่กระทรวงการต่างประเทศไทย (กรณีที่ไม่ได้เดินทางกลับประเทศไทย สามารถยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ และหนังสือเดินทางใหม่ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้)
2. กรณีจดทะเบียนสมรสกับคนไทยหรือชาวต่างชาติที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
1. นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอไทย และผ่านการประทับตรารับรองนิติกรณ์จากกระทรวงการต่างประเทศไทยแล้ว ไม่เกิน 3 เดือน มาขอประทับตรารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
2. นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ประทับตรารับรองจากสถานกงสุลใหญ่ฯ แล้ว ไปขอจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
3. ขอหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) 1 ชุด จากอำเภอญี่ปุ่น
4. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) ไปประทับตรารับรองที่กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช)
5. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) ที่ประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) แล้ว ไปแปลเป็นภาษาไทย (สามารถดูตัวอย่างการแปลในเว็บไซต์ของสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้)
ขั้นตอนการดำเนินการที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา
6. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) ที่ประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) แล้ว พร้อมคำแปลภาษาไทย มาขอประทับตรารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
*** หากคู่สมรสทั้งสองฝ่ายเดินทางกลับประเทศไทยด้วยตนเอง ไม่ต้องยื่นคำร้องตามข้อ 7. - ข้อ 9. ***
7. ขอทำหนังสือมอบอำนาจ ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (เพื่อขอบันทึกเรื่องการสมรสที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย)
8. ขอทำหนังสือข้อตกลงการใช้ชื่อสกุล ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (โดยคู่สมรสฝ่ายที่ไม่สามารถเดินทางไปลงลายมือชื่อที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยด้วยตนเองได้ ต้องมาลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ฯ)
9. ขอทำหนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านาม ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (เฉพาะฝ่ายหญิงที่ถือสัญชาติไทย)
ขั้นตอนการแจ้งสมรสที่ประเทศไทย
10. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ประทับตรารับรองจากสถานกงสุลใหญ่ฯ แล้ว ไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย
11. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ผ่านขั้นตอนในข้อ 10. แล้ว ไปขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรส (คร.22) ที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไทย
12. ที่ว่าการเขต/อำเภอไทยออกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรสไทย และแก้ไขคำนำหน้าชื่อ เปลี่ยนนามสกุลตามสามีหรือภรรยาภายหลังการสมรสในทะเบียนบ้านและทะเบียนราษฎรไทย
13. ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยใหม่ที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย และขอทำหนังสือเดินทางใหม่ที่กระทรวงการต่างประเทศไทย (กรณีที่ไม่ได้เดินทางกลับประเทศไทย สามารถยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ และหนังสือเดินทางใหม่ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้)
การขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรสที่ประเทศไทย
หลังจากจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว และต้องการขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรสที่ที่ว่าการเขต/อำเภอไทย คู่สมรสทั้งสองฝ่ายสามารถกลับไปยื่นคำร้องได้ด้วยตนเองที่ประเทศไทย แต่หากไม่สะดวกไปยื่นด้วยตนเอง สามารถขอทำเรื่อง รับทราบคำแปลเอกสาร หนังสือมอบอำนาจ หนังสือข้อตกลงการใช้ชื่อสกุล และหนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านาม (กรณีฝ่ายหญิงถือสัญชาติไทย) ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา ได้ โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
1. คำร้องนิติกรณ์ 3 ฉบับ /หนังสือมอบอำนาจ 2 ฉบับ สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
2. สำเนาหนังสือเดินทาง 5 ชุด
3. สำเนาบัตรประชาชนไทย 5 ชุด
4. สำเนาทะเบียนบ้านไทย 5 ชุด
5. หากเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล กรุณาเตรียมสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ หรือใบเปลี่ยนนามสกุลมาด้วย
6. สำเนาบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือบัตรไซริวการ์ด 5 ชุด
7. หากสมรสกับคนญี่ปุ่น ต้องเตรียมทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น หรือโคเซกิโทฮง ระบุเรื่องการสมรสฉบับจริง ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน และคำแปลภาษาไทย พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด
8. หากสมรสกับคนไทยหรือคนต่าง ชาติที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น ต้องเตรียมหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส หรือคนอินจุริโชเมโชฉบับจริง ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการตางประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน และคำแปลภาษาไทย พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด
9. สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบขับขี่รถยนต์ของคู่สมรสหรือบัตรประจำตัวผู้พำนัก (แล้วแต่กรณี) 2 ชุด
10. สำเนาบัตรประชาชนไทยและทะเบียนบ้านไทยของผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 2 ชุด
***กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องการกลับไปยื่นคำร้องด้วยตนเองที่อำเภอไทย โดยที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเดินทางไปลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงการใช้ชื่อสกุลด้วยได้ สามารถยื่นคำร้องขอทำ หนังสือข้อตกลงการใช้ชื่อสกุล และขอตราประทับรับรองในเอกสารแปล ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ก่อน แล้วจึงนำเอกสารดังกล่าวกลับไปดำเนินการต่อที่ประเทศไทย โดยเตรียมคำร้องนิติกรณ์ (สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ) และเอกสารตามข้อ 2. - ข้อ 9.